วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คัพเค้ก

ประวัติคัพเค้ก

“cupcake” ถูกพบครั้งแรกในปี 1828 ในหนังสือ Eliza Leslie’sReceipts cookbook ในช่วงต้นศตวรรรษที่ 19 มีการเขียนทั้งแบบ Cup cake และ Cupcake เดิมที่สมัยก่อนจะอบ Cupcake ในถ้วยกระเบื้องกัน
คัพเค้ก ( Cupcake ) เริ่มแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ราวช่วงต้นศตวรรษที่ 19 คิดขึ้นมาเพื่อต้องการประหยัดเวลาในการทำจีงได้คิดทำเค้กเป็นถ้วยๆขึ้นมา ซึ่งจริงๆต้นกำเนิดแล้วคำว่า Cupcake นั้น นักประวัติศาสตร์ด้านอาหารคิดว่าน่าจะมาจาก 2 ทฤษฏี คือ
  • มาจากการทำเค้กในถ้วย จึงเรียกว่า คัพเค้ก (Cupcake)
  • มาจากเวลาทำเค้กชนิดนี้ มาตราส่วนในการตวงใช้ เป็นถ้วย จึงเรียกว่า คัพเค้ก (Cupcake)
จริงๆแล้ว เริ่มแรกของเค้กชนิดนี้ เดิมเรียกว่า “ Number Cake , 1234 cakes , quarter cakes ” เพราะว่ามันง่ายในการจำสูตรในการทำ เนย 1 ถ้วย , น้ำตาล 2 ถ้วย , แป้ง 3 ถ้วย , ไข่ไก่ 4 ฟอง , นม 1 ถ้วย ,ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกันอบเสร็จก็กลายเป็น Cupcake แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนา Cupcake โดยส่วนผสม,รูปร่าง,การตกแต่ง ที่หลากหลาย จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
คัพเค้ก (Cupcake) ทำง่าย สะดวกรวดเร็วกว่า การทำเค้กทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ หลังจากอบเสร็จมีการตั้งเอาไว้ให้หายร้อนในเตาอบ ทำให้เค้กไหม้ มัฟฟินทิน (Muffin tin) จึงได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ 20 ถือเป็นช่วงในการเริ่มต้นทำ Cupcake ในถ้วยอลูมิเนียม , ถ้วยกระดาษสีสวยๆที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทำให้ คัพเค้ก ( Cupcake) ได้รับความนิยมอย่างมากมายในปัจจุบัน มีร้านขาย Cupcake เปิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คัพเค้กยอดนิยม ก็ยังคงเป็นรสวานิลา (Vanilla)) และช็อคโกแล็ต ( Chocolate ) ส่วนรสอื่นๆ ก็มี ราสเบอรรี่ เมอแรง (raspberry meringue) ,เอสเพลสโซ่ ฟรัดจ์ (Espresso fudge)

ไอศกรีม

ไอศกรีม


ไอศกรีม(ice cream)หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไอศกรีม


   ระวัติไอศกรีม
ต้นกำเนิดของไอศกรีมนั้น ไม่เป็นที่แน่ชัดมาเริ่มจากไหน บางข้อมูลก็ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรแห่งจักรวรรดิโรมัน ที่ได้มีการพระราชทานเลี้ยงไอศกรีมทหาร โดยในสมัยนั้นทำจากเกล็ดน้ำแข็ง (หิมะ) ผสมน้ำผึ้งและผลไม้ ซึ่งคล้ายกับไอศกรีมเชอร์เบตในปัจจุบัน แต่บ้างก็ว่ามาจากประเทศจีน เกิดจากเมื่อสมัยโบราณที่นมถือเป็นของหายาก จึงได้มีการคิดวิธีเก็บรักษาโดยการเอาไปฝังในหิมะ จึงเกิดเป็นไอศกรีมขึ้น แม้จะไม่ได้มีลักษณะเหมือนกับไอศกรีมอย่างทุกวันนี้
แต่บ้างก็ว่ามาจากอิตาลีโดยมาร์โค โปโล กลับจากจีนแล้วเอาสูตรไอศกรีมมาเผยแพร่ ซึ่งในตอนนั้นไอศกรีมของจีนยังไม่มีนม เป็นคล้ายน้ำแข็งไสมากกว่า ยังมีจุดเริ่มต้นจากอังกฤษเมื่อสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พ่อครัวคนหนึ่งมีสูตรเด็ดเป็นครีมแช่แข็งปรุงรส ซึ่งเป็นสูตรลับสุดยอดที่ส่งเป็นของหวานถวายพระองค์ ทว่าเมื่อพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1642-ค.ศ. 1651 พ่อครัวต้องลี้ภัยไปยุโรปจึงได้นำสูตรไอศกรีมนี้เผยแพร่ออกไป
ไอศกรีมในประเทศไทย
ในประเทศไทยนั้น ไอศกรีมเริ่มเข้ามาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาเผยแพร่ในสยาม หลังเสร็จประพาสอินเดียชวาและสิงคโปร์ น้ำแข็งในตอนแรก ๆ ก็ยังไม่สามารถผลิตในประเทศได้ จึงต้องนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อไทยสั่งเครื่องทำน้ำแข็งเข้ามาก็เริ่มมีการทำไอศกรีมกินกันมากขึ้น ถือว่าไอศกรีมเป็นของเสวยเฉพาะสำหรับเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพบันทึกไว้ว่า
ไอศกรีมเป็นของที่วิเศษในเวลานั้น เพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กที่เขาทำกันตามบ้านเข้ามา ทำบางวันน้ำก็แข็งบางวันก็ไม่แข็ง มีไอศกรีมบ้างบางวันก็ไม่มี จึงเห็นเป็นของวิเศษ
โดยไอศกรีมในพระราชวังนั้นจะทำจากน้ำมะพร้าวอ่อน ใส่เม็ดมะขามคั่ว จนต่อมาเมื่อมีโรงงานทำน้ำแข็ง แต่ก็ยังถือเป็นของชั้นดี โดยมีไอศกรีมระดับชาวบ้านทำเองด้วย ในช่วงแรก ๆ นั้นไอศกรีมกะทิมีลักษณะเป็นน้ำแข็งละเอียดใส ๆ รสหวานไม่มาก และมีกลิ่นหอมของดอกนมแมว ในสมัยนั้นวิถีการกินของผู้คนจะนิยมกินอาหารกันในเรือนแพ เหมือนที่สมัยนั้นจะขายก๋วยเตี๋ยว หรือกาแฟกันบนเรือ
ลักษณะของไอศกรีมกะทิใส่ถ้วยพร้อมโรยด้วยถั่วลิสงคั่วก็มีมาตั้งแต่สมัยนั้น ซึ่งต่อมาไอศกรีมกะทิก็มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้น จากกะทิใส ๆ ก็มีความเข้มข้น มีการใส่ลอดช่อง, เม็ดแมงลัก และขนุนฉีกเข้าไป โดยคนไทยได้ดัดแปลงไอศกรีมของต่างชาติมาเป็นไอติมกะทิ โดยใช้กะทิสดผสมกับน้ำตาลนำไปปั่นให้แข็ง เนื้อไอติมค่อนข้างใสเป็นเกล็ดน้ำแข็งละเอียด เวลารับประทานต้องขูดไอติมออกจากขอบหม้อโลหะเมื่อไอติมเริ่มแข็งตัว ตอนขายตักใส่ถ้วยเป็นลูก ๆ เรียกไอติมตัก กินกับถั่ว ข้าวเหนียวหรือลูกชิด บางคนกินกับขนมปังที่หั่นเป็นท่อน และมีรอยแยกเป็นร่องอยู่ตรงกลาง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไอศกรีมกะทิ

ส่วน ไอศกรีมหลอด หรือไอศกรีมแท่งก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยใช้น้ำหวานใส่หลอดสังกะสีและเขย่าให้แข็ง และมีก้านไม้เสียบ โดยจะใส่ถังขับไปขายตามถนน สั่นกระดิ่งเป็นสัญญาณเพื่อเรียกลูกค้า นอกจากนี้ยังมีจุดขายที่การลุ้นไอศกรีมฟรีจากไม้เสียบที่หากมีสีแดงป้ายอยู่ก็จะได้กินฟรีอีกหนึ่งแท่งด้วย ซึ่งไอศกรีมแบบหลอดก็มีการพัฒนาจนมาเป็นไอศกรีมโบราณที่มีส่วนผสมของนมโดยมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม อาจทานเป็นแท่ง หรือตัดใส่ถ้วยรับประทานก็ได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไอศกรีมหลอด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไอศกรีมหลอด

มาการอง

                                                     ขนมมาการอง (Macaron)

เป็นขนมหวานที่มีต้นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส มีส่วนประกอบหลักของ Almond น้ำตาล และไข่ขาว มีลักษณะคล้ายคุ้กกี้ชิ้นเล็กสองอันประกบกันมีไส้ตรงกลาง มีสีสันสดใส กรอบนอกนุ่มใน สอดไส้ตรงกลางด้วยกานาช (Ganache) มีหลายรสชาติ เช่น ช็อกโกแลต สตรอเบอร์ รี่ วานิลลา อัลมอนด์ หรือผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น และมักนิยมทานคู่กับชา หรือ กาแฟ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มาการอง


ประวัติมาการอง

มาการอง เป็นที่รู้จักครั้งแรกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัยนั้นข้าวยากหมากแพง เนื้อสัตว์ โปรตีนไม่มีให้รับประทานมากมายนัก เหล่าแม่ชีชาวอิตาเลียนที่อพยพมายังประเทศฝรั่งเศสจึงดำรงชีพอยู่ด้วยอัลมอนด์ เพราะมีคุณค่าทางอาหารไม่แพ้เนื้อสัตว์ โดยนำมาประกอบเป็นอาหารหรือขนมหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือ ขนมจากอัลมอนด์ ซึ่งต่อมากลายเป็นของหวานที่ชาวฝรั่งเศสชื่นชอบมาจนถึงปัจจุบัน

สเน่ห์ของมาการองไม่ได้อยู่ที่สีสันสดใสเท่านั้น ว่ากันว่ามาการองที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่รูปร่างคล้ายกับโดมแบน ๆ มองดูจากด้านบนเป็นวงกลม ผิวด้านบนของขนมเรียบมันจากความละเอียดของอัลมอนด์บด ส่วนที่สำคัญคือ “Foot” บางตำราเรียก ”Skirt” รอยหยักคล้ายลูกไม้ชายกระโปรงที่บางกรอบ ซึ่งมีวิธีการทำที่ยุ่งยากพอควร อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ กลิ่นหอมหวาน เคล็ดลับอยู่ที่หลังจากนำมาการอง 2 ชิ้นมาประกบกันแล้ว ต้องเก็บไว้ในที่เย็น 1 คืน เพื่อให้ไส้รสชาติต่าง ๆ ซึมซาบเข้าสู่ชั้นของคุกกี้ นอกจากนี้ความชื้นจากไส้ยังทำให้มากาฮองมีความนุ่มหนึบเวลาเคี้ยวอีกด้วย

คุณลักษณะของมาการองที่ดี จะต้องมีรสชาติที่ผสานกันอย่างลงตัวระหว่างไส้กานาชและเนื้อคุกกี้ ส่วนสูงที่สมดุลของตัวคุกกี้ชิ้นบนและล่างที่มีขนาดเท่า ๆ กัน รวมทั้งไส้ที่บีบพอดีขอบให้เห็นเป็นเส้นเล็ก ๆ ตลอดทั้งชิ้น



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มาการอง


ช็อกโกเเลต

ช็อกโกแลต

Image result for ช็อกโกเเลต
วัติช็
ช็อกโกแลตถูกค้นพบมาตั้งแต่สองพันปีที่แล้ว หลังสมัยพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ เป็นผลผลิตที่ได้จากเมล็ดของต้นคาเคา (cacao) ในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา จัดอยู่ในตระกูล Theobroma cacao แปลว่า "อาหารแห่งทวยเทพ" ชนกลุ่มแรกที่รู้จักทำช็อกโกแลตเป็นอารยธรรมโบราณที่อยู่ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง ชนกลุ่มนี้ได้แก่ชาวมายา และชาวแอซเทค แห่งอารยธรรมเมโสอเมริกา คนเหล่านี้เอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับเครื่องปรุงหลายชนิดเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มที่มีรสขมเฝื่อน นอกจากใช้ประกอบอาหาร แล้วช็อกโกแลตยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเชิงศาสนาและสังคมด้วย
ชาวมายา (ค.ศ.250-900) เป็นชนชาติแรกที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ค้นพบความลับของต้นคาเคาโดยพวกเขา ได้นำต้นคาเคามาจากป่าฝนและปลูกไว้ที่สวนหลังบ้าน พอออกฝักก็เก็บเอาเมล็ดมาหมักบ้าง คั่วบ้าง และยังบดเป็นเนื้อเหนียว อยากชงเป็นเครื่องดื่มก็เอามาผสมน้ำ โรยพริกไท แป้งข้าวโพด ก็จะได้เครื่องดื่มช็อกโกแลตรสซาบซ่ามีฟองฟ่อง
ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาณาจักรของชาวแอซเทคครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของอารยธรรมเมโสอเมริกา โดยมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เมืองปัจจุบันเรียกว่า เม็กซิโก ซิตี้ ชาวแอซเทคได้ซื้อขายเมล็ดคาเคากับชาวมายาและชนชาติอื่น และยังเรียกเก็บค่าบรรณาการจากพลเมืองของตนและเชลยเป็นเมล็ดคาเคาโดยใช้แทนค่าเงิน ชาวแอซเทคนิยมดื่มช็อกโกแลตขมเช่นเดียวกับชาวมายายุคแรกโดยปรุงรสชาติให้ซู่ซ่าขึ้นด้วยเครื่องเทศ ชาวเมโสอเมริกาสมัยนั้นยังไม่มีใครปลูกอ้อยก็เลยไม่มีใครใส่น้ำตาลกัน

เล่ากันว่า คนมายายุคคลาสสิกชอบดื่มช็อกโกแลตกันในวาระพิเศษขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์จะนิยมดื่มกันมากส่วนชาวแอซเทค บรรดาผู้ปกครองระดับสูง พระ ทหารยศสูง และพ่อค้าที่มีหน้ามีตาเท่านั้นที่มีสิทธิลิ้มรสเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์นี้ ช็อกโกแลตมีบทบาทสำคัญในพิธีของราชวงศ์และศาสนา พระใช้เมล็ดคาเคาเป็นเครื่องสักการะเทพเจ้า และดื่มในพิธีสำคัญ

สำหรับที่มาของชื่อช็อกโกแลตนั้นยังไม่มีใครอธิบายได้แจ่มชัดแต่มีความเป็นไปได้สองทาง ทางแรกเป็นคำที่ผันมาจากคำว่า "ช็อคโกลัจ" ในภาษามายาซึ่งหมายถึง มาดื่มช็อกโกแลตด้วยกัน อีกทางหนึ่งอธิบายว่าน่าจะมาจากภาษามายาเช่นกัน คือ " chocol" แปลว่า ร้อน ผสมกับคำว่า "atl" ของแอซเทคที่แปลว่า น้ำ พอมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า chocolatl และมาเป็น chocolate ต่อมาในยุโรป

ช็อ

ช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มความหวาน (unsweetened chocolate)
คือ ช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์หรือที่รู้จักกันในนาม ช็อกโกแลตฝาด ใช้ในการอบอาหาร และเป็นช็อกโกแลตที่ไม่มีการเจือปนใด ๆ ทั้งสิ้น ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสชาติเข้มข้มและ ลุ่มลึกของช็อกโกแลตบริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อมีการเพิ่มน้ำตาลเข้าไป ช็อกโกแลตชนิดนี้จะใช้เป็นส่วนผสมหลักในการทำบราวนี เค้ก ลูกกวาด และคุกกี้

ช็อกโกแลตดำ (dark chocolate)
คือช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มนมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกเป็ช็อกโกแลตธรรมดา แต่ว่าทางรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกเป็นช็อกโกแลตหวาน และกำหนดให้มีส่วนผสมของช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์เข้มข้น 15% แต่ทางยุโรปได้กำหนดให้มีส่วนผสมของเมล็ดโกโก้อย่างน้อย 35% ช็อกโกแลตดำมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ป้องกันมิให้เกิดคราบไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจเลือดตีบ และช่วยป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดแข็งตัว สาเหตุของการอุดตันในหลอดเลือด และป้องกันความดันโลหิตสูง

ช็อกโกแลตนม (milk chocolate)
คือช็อกโกแลตที่ผสมนมหรือนมข้นหวาน รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดว่าหากจะเรียกว่าช็อกโกแลตนมต้องมีส่วนผสมของช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์เข้มข้น 10% แต่ทางยุโรปได้กำหนดให้มีส่วนผสมของเมล็ดโกโก้อย่างน้อย 25% ช็อกโกแลตชนิดนี้มีส่วนผสมของเนยโกโก้ (cocoa butter) นม และยังเพิ่มความหวานและรสชาติลงไปด้วย ช็อกโกแลตนมนี้ใช้สำหรับแต่งหน้าขนมได้เป็นอย่างดี ช็อกโกแลตนมที่ทำในประเทศสหรัฐฯ ต้องประกอบด้วยน้ำช็อกโกแลตอย่างน้อย 10% และนมที่ไม่ได้เอามันเนยออก 12%

Chocolate Liquor
คือผลผลิตจากเมล็ดโกโก้นำมาบดละเอียด แล้วนำมาคั้นเอาแต่น้ำ น้ำช็อกโกแลตนี้สามารถทำให้เย็นและทำให้แข็งตัวโดยใส่พิมพ์ไว้ แต่ช็อกโกแลตที่ได้เป็นชนิดที่ไม่หวาน น้ำช็อกโกแลตนี้จะมีส่วนผสมของโกโก้บัตเตอร์ประมาณ 53%

ช็อกโกแลตกึ่งหวาน (semi-sweet)
คือ อยู่ในรูปของเหลวแล้วเพิ่มความหวานและใส่เนยโกโก้ลงไปด้วย สีของช็อกโกแลตชนิดนี้สีจะเข้ม ตามมาตรฐานของสหรัฐฯ จะมีส่วนผสมของน้ำช็อกโกแลตประมาณ 35% และมีไขมันประมาณ 27% ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสชาติความหวานเล็ก

ช็อกโกแลตหวาน (sweet chocolate)
ช็อกโกแลตชนิดนี้จะเพิ่มความหวานลงไปมากกว่าช็อกโกแลตแบบหวานน้อย และมีส่วนผสมของน้ำช็อกโกแลตอย่างน้อย 15 % ช็อกโกแลตชนิดนี้ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำขนมและตกแต่งขนม และยังมีไขมันเท่า ๆ กับช็อกโกแลตแบบหวานน้อย

ช็อกโกแลตขาว (white chocolate)
ชนิดนี้มีส่วนผสมของเนยโกโก้ แต่ไม่มีโกโก้ที่อยู่ในรูปของไขมัน แต่จะประกอบไปด้วยน้ำตาล เนยโกโก้ นมสด และใส่กลิ่นวานิลลาลงไปด้วย ช็อกโกแลตขาวนี้จะแตกหักง่าย หากเป็นของปลอมจะทำมาจากน้ำมันพืชมากกว่าเนยโกโก้




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง










ประวัติขนมหวาน

ประวัติขนมหวาน

“เข้าหนม” “ข้าวหนม” ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า “ขนม” ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลายท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก “ข้าวนม” ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมาว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุดในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก
สำหรับ “เข้าหนม” นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า “หนม” เพี้ยนมาจาก “เข้าหนม” เนื่องจาก “หนม” นั้นแปลว่าหวาน แต่หกลับไม่ปรากฎความหมายของ“ขนม” ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า “ข้าวหนม” แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า“หนม” ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน


           อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า “ขนม” อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า “หนม” ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “ขนม” เพี้ยนมาจาก “ขนม” ในภาษาเขมรก็เป็นได้
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ


        หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทย ชนิดหนึ่งไว้

       ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฎข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง “ย่านป่าขนม” หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง “บ้านหม้อ” ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขนมเบื้อง


       จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาวโปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผุ้เป็นต้นเครื่องขนมหรือของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดงมาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ

       ขนมไทยแท้ๆ นั้น จากการศึกษาพบว่า ส่วนประกอบหลักของขนมไทยมักหนีไม่พ้นของสามสิ่ง คือ แป้ง น้ำตาล และ มะพร้าว นำมาคลุกเคล้าผสมผสาน ดัดแปลงตามสัดส่วนที่เหมาะสมด้วยวิธีต่างๆ เช่น นึ่ง ต้ม
ทอด จี่ ผิง ก็จะได้ขนมไทยมากมายหลายชนิด


       คนไทยสมัยโบราณไม่ได้กินขนมทุกวัน หากแต่จะได้กินก็ต่อเมื่อมีงานนักขัตฤกษ์ หรืองานบุญสำคัญเท่านั้น ขนมไทยที่มักพบกันบ่อยที่กินกับน้ำกะทิ และทำเลี้ยงแขกเสมอ คือ ขนมสี่ถ้วย ซึ่งหมายถึง ไข่กบ (เม็ดแมงลัก) นกปล่อย (ลอดช่อง) มะลิลอย (บัวลอย) และอ้ายตื้อ (ข้าวเหนียวน้ำวุ้น) ส่วนขนมอื่นๆ มักใช้ในงานมงคลต่างๆ เช่น ขนมชั้น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมกง ขนมสาม
เกลอ ขนมปุยฝ้าย เป็นต้น ฯลฯ




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


       ในงาน “นิทรรศการขนมนานาชาติ” ซึ่งจัดโดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2541 ได้จำแนกกลุ่มขนมหวานของไทยที่ได้รับอิทธิพลจาก วัฒนธรรมโปรตุเกส คือ ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอด บ้าบิ่น ลูกชุบ ขนมผิง ทองม้วน ขนมหม้อแกง ขนมไข่กระหรี่ปั๊บ
มีหลักฐานพบว่า ในโปรตุเกส ขนมที่ชื่อ ตรูซูช ดาช กัลดัช (Trouxos das caldas) คือ ต้นตำรับของขนม ทองหยิบ และขนม Fios de Ovos คือ ขนมฝอยทอง ส่วนขนม เกลชาดาซ เดอ กรูอิงบรา (Queijadas de Coimbra) เป็นต้นตำรับ ขนมบ้าบิ่น ของไทย ซึ่งใช้เนยแข็ง แต่ในบ้านเราใช้มะพร้าวแทน
สำหรับ ลูกชุบ เป็นขนมประจำถิ่นโปรตุเกส แพร่หลายมาถึงย่านเมดิเตอร์เรเนียนแถบฝรั่งเศสตอนใต้ เพราะอยู่ใกล้บ้าน เช่น เมืองนีซ เมืองคานส์ ก็มีขนมลูกชุบมากมายทั้งเมือง ลูกชุบในภาษาโปรตุเกส เรียกว่า Massapa’es เป็นขนมประจำถิ่นของ แคว้นอัลการ์วิ (Aigaeve) โดยโปรตุเกสใช้เม็ด อัลมอนด์ เป็นส่วนผสมสำคัญ แต่บ้านเราไม่มี จึงต้องคิดด้วยการใช้ ถั่วเขียว แทน เนื่องจากขนมโปรตุเกสจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ความชำนาญพิเศษ จึงจะได้ขนมหวานที่รสชาติดีออกมาสีสันสวยงาม


       ดังนั้น แม้ทุกวันนี้ ขนมฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ยังเป็นขนมยอดฝีมือที่ผู้ทำต้องมีความชำนาญ และได้รับการยกย่อง หากทำขนมประเภทนี้ได้รสชาติดี สวยงาม ประณีต

       ในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บาทหลวงฝรั่งเศส เดอโลลีเยร์ บันทึกรายงานถึงระดับความมีหน้ามีตา และรสนิยมการบริโภคขนมหวานของชาวโปรตุเกสในสมัยกรุงศรีอยุธยา กระทั่งราชสำนักสยามถึงกับต้องเกณฑ์ขนมหวานจาก หมู่บ้านโปรตุเกส เข้าไปในพระราชวัง เนื่องในโอกาสนักขัตฤกษ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังความตอนหนึ่งว่า

       “พวกเข้ารีตบางครัว ต้องถูกเกณฑ์ให้ทำของหวานแก่พระเจ้าแผ่นดิน ในวันนักขัตฤกษ์ ในวันชนิดนี้พระเจ้ากรุงสยามก็มีรับสั่งให้พวกเข้ารีตนี้ ทำของหวานเป็นอันมาก อ้างว่าสำหรับงานนี้งานนั้น เป็นต้นว่า สำหรับพิธีล้างศีรษะช้าง ซึ่งถือว่าเป็นพระองค์หนึ่ง หรือสำนักงานไหว้พระพุทธบาทดังนี้”
อาจด้วยเป็นพระราชประสงค์ที่มีรับสั่งตรงมาจากราชสำนักสยาม ทำให้ มาดามดอนญา มาเรีย กิอูมาร์ เดอ ปินา ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ฟอลคอน ซึ่งรับหน้าที่แม่บ้านหัวเรือใหญ่จัดอาหารเลี้ยงรับรองราชอาคันตุกะต่างประเทศที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยามากมาย ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ท้าวทองกีบม้า (เพียนจาก ‘กิอูมาร์’) ตำแหน่งวิเศสกลาง ถือศักดินา 400 เป็นผู้กำกับการพนักงานของหวานในพระราชวัง


        อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ชาวตะวันตกอีกผู้หนึ่งที่บันทึกการเดินทางเกี่ยวกับเรื่องของ ท้าวทองกีบม้าว่า”ข้าพเจ้าได้เห็นท่านผู้หญิงของฟอลคอนในปี พ.ศ.2262 เวลานี้ท่านได้รับเกียรติเป็นต้นห้องเครื่องหวานาของพระเจ้าแผ่นดิน ท่านเกิดในกรุงสยามในตระกุลอันมีเกียรติ และในเวลานั้นท่านเป็นที่ยกย่องนับถือแก่คนทั่วไป…

      ท่านท้าวทองกีบม้าผู้นี้ เป็นต้นการสั่งสอนให้ชาวสยามทำของหวาน คือ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ขนมผิง ขนมฝรั่ง ขนมผิง ขนมไข่เต่า ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี ขนมหม้อแกง เป็นต้นเหตุเดิมที่ท้าวทองกีบม้าทำและสอนให้ชาวสยาม”
นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่มีการยอมรับวัฒธรรมขนมหวานจากชาวโปรตุเกส ซึ่งมักนิยมนำมาจัดเลี้ยงในงานพิธีมงคลต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาในครั้งกระนั้นสืบทอดมาถึงยุคปัจจุบันในทุกวันนี้




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

มาร์ชเมลโล่

มาร์ชเมลโล่ Marshmallows

Marshmallow หรือ มาร์ชมาลโลว์ เป็นขนมหวานชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ เจลาติน, น้ำและน้ำตาล โดยส่วนผสมจะถูกตีจนขึ้นฟูมีลักษณะนุ่มเบาเหมือนโฟม จริงๆ แล้วสูตรดั้งเดิมของการทำ Marshmallow นั้นไม่ได้ทำมาจากเจลาติน แต่ทำมาจากสารสกัดเข้มข้นที่ได้จากเมือกของรากของต้น Marshmallow (Althaea officinalis) ซึ่งถือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง แต่เนื่องจากหายากและราคาแพง ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาใช้เจลาตินแทน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มาร์ชเมลโล่




 Marshmallow ได้ถูกผลิตขึ้นเป็นสินค้าครั้งแรกในช่วงราวๆ ปลายศตวรรษที่ 19 โดยบริษัท Doumak ซึ่งได้คิดค้นกระบวนการ Extrusion กล่าวคือโฟม Marshmallow จะถูกบีบอัดผ่านแม่พิมพ์ให้เป็นแท่งย
จากนั้นก็ถูกตัดให้เป็นก้อนเล็กๆ บางครั้งอาจเคลือบผิวด้วยน้ำตาล ส่วนมากจะผลิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา จากสถิติพบว่าคนอเมริกันกิน Marshmallow ถึงปีละ 90 ล้านปอนด์เลยทีเดียว

รูปแบบของการกิน Marshmallow นั้นนับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะสามารถกิน Marshmallow แบบก้อนธรรมดาเล่นๆ เพลินๆ แล้ว Marshmallow ยังเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมแคมป์ไฟ โดยกิจกรรมการกินนี้เรียกกันว่า S’more ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นิยมมากในประเทศอเมริกันและแคนาดา กล่าวกันว่าเกิดขึ้นครั้งแรกในค่ายเนตรนารี (Girl Scout) ในปี 1927 โดยเป็นหนึ่งในกิจกรรมนันทนาการของการออกแคมป์ และเมื่อเด็กคนหนึ่งได้กินก็ติดใจจึงพูดขึ้นมาว่า Gimme some more ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อ S’more นั่นเอง
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



วัตถุดิบก็ไม่ยุ่งยากได้แก่ Marshmallow, ขนมปังแครกเกอร์แผ่นบางๆ ช็อกโกแลตแผ่นเล็กๆ และที่ขาดไม่ได้ก็คือกองไฟนั่นเอง วิธีการก็เริ่มด้วยการปิ้ง Marshmallow เมื่อMarshmallow ถูกความร้อนเนื้อภายในจะเริ่มละลายและขยายพองออก หากทิ้งไว้นานมันจะละลายเยิ้มหยดย้อย ดังนั้นเราต้องสังเกตให้ดีหากมันเริ่มพองและผิวนอกเริ่มมีสีน้ำตาลอ่อนๆ ก็เป็นอันใช้ได้ จากนั้นก็นำมาวางบนแผ่นแครกเกอร์ที่มีช็อกโกแลตแผ่นเล็กๆ วางอยู่ และประกบด้วยแผ่นแครกเกอร์อีกแผ่นเป็นอันเสร็จพิธี ความร้อนจาก Mashmellowจะทำให้ช็อกโกแลตละลายเยิ้มๆ ไปด้วย ลองคิดภาพตาม โอ้มันช่างน่ากินจริงๆ ใช่แล้วมันน่ากินจนชาวอเมริกันเค้ากำหนดให้ในวันที่ 10 สิงหาคมของทุกปีเป็น National S’mores Day หรือ National Marshmallow Toasting Day อีกด้วย

การกิน Marshmallow อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมก็คือ การโรยลงบนเครื่องดื่มร้อนๆ เช่น ช็อกโกแลต หรือกาแฟ มันจะลอยๆ อมน้ำนิดๆ พองหน่อยๆ พอเข้าปากก็ละลายได้ใจจริงๆ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มาร์ชเมลโล่ โกโก้